หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560

โซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์(Off Grid System )

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบออฟกริด (Off Grid System )

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบออฟกริด
    คลิกดู โซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์
            ระบบออฟกริด (Off Grid ) เป็นระบบโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์  แบบที่เชื่อกับแบตเตอรี่สำรอง เป็นระบบที่ไม่เชื่อมต่อกับสายของการไฟฟ้า โดยเมื่อโวล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัว charge controller เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอ กระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าระแสตรง (DC) และ inverter แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ในแบบต่างๆมีดังนี้ใช้กับโหลดกระแสตรง แต่ในเวลากลางคืนใช้กระแสไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ จากนั้นจึงต่อเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงหรือต้องการไฟฟ้าสำรองสำหรับตอนไฟฟ้าดับ
            จุดเด่นของระบบออนกริด คือหากบ้านได้ที่ติดตั้งระบบออนกริด จะมีแหล่งจ่ายไฟ 2 ทาง ทางหนึ่งจากการไฟฟ้า และอีกทางหนึ่งจากโซลาร์เซลล์ ระบบไฟที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ จะแปลงไฟโดยอินเวอร์เตอร์ และสามารถต่อไฟร่วมกับ ระบบไฟจากการไฟฟ้าได้ ไม่ต้องทำระบบสลับไฟใดๆทั้งสิ้น สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด โดยไม่ใช้แบตเตอรี่

ระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบออฟกริด สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้

1.แบบต่อใช้งานโดยไม่ใช้แบตเตอรี่ 
            กล่าวคือเมื่อได้กระแสไฟฟ้าจากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) แล้ว ก็ต่อไปยังอุปกรณ์เพื่อใช้งานเลย ดังนั้นก็จะใช้ได้เฉพาะเวลาที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น และไม่มีการเก็บประจุไฟฟ้ามาใช้งาน ทั้งนี้การนำมาต่อใช้งานก็อาจแยกตามอุปกรณ์ที่ใช้งาน ได้เป็น 2 ชนิด
1.1 อุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load) ใช้ไฟ AC 

ไฟฟ้ากระแสสลับ AC ( Alternating Current )

            เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านเราเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC ( Alternating Current ) แต่ไฟฟ้าที่ได้จากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC ( Direct Current ) ดังนั้น ก่อนนำไปใช้งานจึงต้องนำมาแปลงมาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเสียก่อน โดยนำมาต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) ซึ่งกำลังไฟฟ้าที่ได้ก็จะมีการสูญเสียจากการแปลงฯ ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าลงไป 

1.2 อุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load) ใช้ไฟ DC

กระแสไฟฟ้า DC

            นำกระแสไฟฟ้า DC ที่ได้จาก แผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) มาต่อใช้งานกับอุปกรณ์ของเราใช้งานเลย โดยไม่ต้อง ต่อผ่าน Inverter ซึ่งวิธีการนี้ข้อดีคือการนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด เนื่องจากมีการสูญเสียกำลังไฟฟ้าต่ำมาก แต่ข้อเสียคือ อุปกรณ์ ที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ไฟ AC ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้งานอุปกรณ์ให้เหมะสม เช่น มอเตอร์ปั๊มน้ำที่ใช้ไฟ DC , มอเตอร์บำบัดน้ำเสียที่ใช้ไฟ DC เป็นต้น ซึ่งระบบนี้ก็จะได้ต้นทุนที่ต่ำและประหยัดสุด (เพราะไม่ต้องใช้ อินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) และ แบตเตอรี่ ที่ราคาค่อนข้างสูง และอายุการใช้งานสั้น หากบำรุงรักษาไม่ดี) 

2. แบบต่อใช้งานโดยใช้แบตเตอรี่ 

ระบบโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์

           วิธีนี้คือการนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ มาชาร์จเข้าแบตเตอรี่ แล้วจึงนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งาน ซึ่งก็สามารถเลือกว่าจะนำจ่ายไฟ ให้กับอุปกรณ์ ที่ใช้ไฟ AC หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ไฟ DC ทั้งนี้ข้อดีของการที่มีแบตเตอรี่คือสามารถเก็บประจุไฟฟ้าไว้ใช้งานได้กรณีที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือสามารถใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนได้ โดยอาจแยกตามอุปกรณ์ที่ใช้งาน ได้เป็น 2 ชนิด
              2.1 นำกระแสไฟที่ได้จากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) 

มาชาร์จแบตเตอรี่แล้วนำไฟจากแบตเตอรี่ แปลงเป็นไฟ AC ต่อไปยังอุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load) ใช้ไฟ AC เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านเราเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC ( Alternating Current ) แต่ไฟฟ้าที่ได้จากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC ( Direct Current ) ดังนั้น ก่อนนำไปใช้งานจึงต้องนำมาแปลงมาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเสียก่อน โดยนำมาต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) ซึ่งกำลังไฟฟ้าที่ได้ก็จะมีการสูญเสียจากการแปลงฯ ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าลงไป
             2.2 นำกระแสไฟที่ได้จากแผง Solar Cell หรือ PhotoVoltaic ( PV ) 
มาชาร์จแบตเตอรี่ แล้วนำไฟจากแบตเตอรี่ ต่อไปยังอุปกรณ์ที่ใช้งาน (Load) ใช้ไฟ DC ซึ่งวิธีการนี้ข้อดี การนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด เนื่องจากมีการสูญเสียกำลังไฟฟ้าต่ำมาก แต่ข้อเสียคือ อุปกรณ์ ที่ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ไฟ AC ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้งานอุปกรณ์ให้เหมะสม เช่น หลอดไฟ LED แบบ DC ,มอเตอร์ , ปั๊มน้ำ เป็นต้น

หลักการทํางานโซล่าเซลล์ Off grid system

สามารถแบ่งได้เป็น2ช่วง คือกลางวัน และกลางคืน กล่าวคือ เวลากลางวัน เมื่อแผงโซล่า ได้รับแสงแดดก็จะผลิตกระแสไฟจ่ายให้ตัวโหลดหรือชาร์ดเจอร์ซึ่งมีการชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่  ส่วนเวลากลางคืน ก็สามารถดึงไฟที่เก็บในแบตเตอรี่ มาใช้ได้  ระบบนี้ประกอบด้วย
2.1    แผงโซล่าเซล ทำหน้าที่สร้างกระแสไฟฟ้า
2.2    เครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่ charge controller ปรับแรงดันไฟให้เข้ากับแบตเตอรี่
2.3   แบตเตอรี่ ทำหน้าที่เก็บไฟฟ้า และสำรองไฟไว้ใช้ในเวลากลางคืน
2.4   เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์ inverter ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็น 220 V 50HZ AC เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้



หลอดตะเกียบ compact-fluorescent (CFL)


หลอดตะเกียบ

compact-fluorescent (CFL)


หลอดตะเกียบ
             ปัจจุบันนี้มีหลอดไฟให้เราเลือกใช้อยู่มากมายหลายประเภท และแต่ละหลอดย่อมมีประสิทธิภาพประสิทธิผลแตกต่างกันอย่างแน่นอน ดังนั้นก่อนการเลือกติดตั้งหลอดไฟ ภายในบ้านของเรานั้น ควรศึกษาและทำความเข้าใจหลอดไฟประเภทต่างๆก่อน และวันนี้เราของนำเสนอความรู้เกี่ยวกับหลอดตะเกียบ หรือ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ว่ามีลักษณะ ประเภทและการใช้งานอย่างไร เพื่อให้ได้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของหลอดขนิดนี้
            หลอดตะเกียบ หรือ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์  เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาขึ้น มาเพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพื่อใช้แทนหลอดไส้ที่ใช้กันมาแต่เดิม หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนส์จะมีขนาด กระทัดรัดและมีกำลังส่องสว่างสูง เหมาะสมกับการให้แสงสว่างทั่วไป ที่ต้องการความสวยงาม มีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 8 เท่า หรือ 8,000 ชั่วโมง และการใช้พลังงานของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์จะน้อยกว่าหลอดไส้ ประมาณ 4 เท่า  มี 2 แบบ แบบมีบัลลาสต์ภายใน  ใช้สวมแทนกับขั่วหลอดไส้ชนิดเกลียวได้  และแบบบัลลาต์ภายนอก ต้องมีขาเสียบกับบัลลาสต์  เช่น หลอดตะเกียบ หลอดเกลียว และหลอดตะเกียบจะมีอยู่ให้เลือก 3 สี daylight , cool white, warm white  เหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์

หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ มี 2 ชนิด คือ

หลอดตะเกียบ compact-fluorescent  (CFL)
1. หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน 
หลอดชนิดนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
            1.1 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในชนิดแกนเหล็ก
             เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ได้รวมเอาบัลลาสต์และ สตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน ผลิตขึ้นมาแทนหลอดไส้ สามารถนำไปสวมกับขั้วหลอดไส้ชนิดเกลียวได้ทุกดวงได้ทันที ลักษณะของหลอดภายในเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กเป็นแท่งแก้วดัดโค้งเป็นรูปตัวยูมีเปลือกเป็นโคม ทรงกระบอก มีชุดบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ปิดผนึกรวมกันอยู่ในชิ้นเดียวกันกับตัวหลอด 
            1.2 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในชนิดอิเล็กทรอนิกส์
             มีลักษณะเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์บัลลาสต์ภายในชนิดแกนเหล็ก จะต่างกันที่เป็นหลอดประหยัดไฟขนาดเล็กที่ไม่มีโคมกระบอก มีการผลิตบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์อิเลคทรอนิกส์ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดซึ่งพัฒนารูปแบบของหลอดให้ประหยัดและมีขนาดกะทัดรัดขึ้นกว่าเดิม ตัวหลอดเป็นแท่งแก้วโค้งเป็นรูปตัวยูหลายชุดและใช้เทคนิคพิเศษเชื่อมต่อกันหลอดชนิดนี้จะติดทันทีโดยไม่กระพริบ

2. หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก 

compact-fluorescent  (CFL)

            ใช้หลักการเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แตกต่างกันตรงที่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก สามารถเปลี่ยนเฉพาะตัวหลอดได้ ในการติดตั้งใช้งานจะต้องมีขาเสียบเพื่อใช้กับบัลลาสต์ที่แยกออก หรือขาเสียบที่มีชุดบัลลาสต์รวมอยู่ด้วย
หลอดตะเกียบมีแสงให้เลือก 3 สี    ได้แก่
1.เดย์ไลต์ (DAY LIGHT) มีแสงที่เหมาะสำหรับพื้นที่มีอุณหภูมิสูง และต้องการแสงสว่างสีขาวเพื่อให้ความรู้สึกเย็น
 2.คูลไวต์ (COOL WHITE) มีแสงสีขาวนวล เหมาะสำหรับงานเอกสาร แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ในพื้นที่สำนักงาน
3.วอร์มไวต์ (WARM WHITE) มีแสงสีค่อนข้างเหลืองใกล้เคียงกับหลอดไส้ เหมาะสำหรับพื้นที่พักผ่อนที่มีอุณหภูมิเย็น

ข้อดีของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 


ข้อดีของหลอดตะเกียบ

1.หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์กินไฟเฉลี่ยเพียง 25 % หรือกินไฟน้อยกว่า 4 เท่า เมื่อเทียบกับหลอดไส้ที่ให้แสงสว่างเท่ากัน
2.มีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ถึง 8 เท่า หรือ 8,000 ชั่วโมง
3.ขณะใช้งานจะมีความร้อนน้อยกว่าหลอดไส้มาก จึงช่วยลดภาระการทำความเย็นของเครื่องทำ ความเย็น หรือเครื่องปรับอากาศได้มาก
4.สามารถนำหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในไปใช้ติดตั้งแทนหลอดไส้ที่มีอยู่เดิมได้ทันที
5.ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและเปลี่ยนหลอด เนื่องจากมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้



ข้อเสียของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 

1.มีราคาแพงหว่าหลอดไส้ (แต่ถ้าพิจารณาถึงอายุการใช้งานที่เท่ากันแล้วหลอดคอมแพคฟลูออเรส เซนต์จะประหยัดหลอดและกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า)
2.หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์บัลลาสต์ภายในชนิดมีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ผิดผนึกเป็นชุดเดียวกัน ถ้าเกิดการชำรุดต้องเปลี่ยนทั้งหมด